
10 ประเภทของ PAIN POINT ในธุรกิจต่าง ๆ ของไทย
หากจะกล่าวถึงปัญหาของธุรกิจ SME ที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องเจอนั้น อาจจะจำแนกได้หายอย่างทั้งปัญหาของตัวผลิตภัณ์เอง ที่ยังไม่มีแบรนด์สินค้าที่ชัดเจนทำให้คนจดจำได้ การสร้างการจดจำนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยทำให้สินค้านั้นๆสามารถขยายฐานลุกค้าไปได้มากขึ้น แทนที่จะมีแค่คนในท้องถิ่นเท่านั้นที่เป็นลูกค้าของเรา
ปัญหาของธุรกิจ SME ที่มักต้องเจอ ( PAIN POINT )
ธุรกิจ SME Franchise ต่างๆ มักจะไม่มีทักษะและความรู้ในด้าน ECOMMERCE
ธุรกิจ SME Franchise ต่างๆ มักจะไม่มีทักษะและความรู้ จึงทำให้ไม่สามารถขายสินค้าด้วยของมันเองได้ หลายๆธุรกิจมักเกิดจากธุรกิจในครอบครัว มีรากฐานจากการสืบทอดมาจากรุ่นต่อรุ่น ทำให้ขาดองค์ประกอบในการนำเสนอผลิตภัณและการสร้างแบรนด์ จวบจนเมื่อธุรกิจนั้นก้าวกระโดดมาสูงโลกแห่ง ECOMMERCE ก็มักจะเจอกับกำแพงทางการค้าที่สูง เนื่องด้วยคู่แข่งที่อยู่ในตลาดนี้มานานแล้ว จึงทำให้ยากต่อการแข่งขันด้วย ดังนั้นทักษะ ความรู้ในด้าน ECOMMERCE

https://www.smergers.com/blog/
SME ส่วนใหญ่มักจะขายสินค้าให้กับตัวกลางเป็นส่วนใหญ่
SME ส่วนใหญ่มักจะขายสินค้าให้กับตัวกลางเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ขายให้โดยตรงกับ ลูกค้าของตัวเอง ทำให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นและอาจโดนกดราคา หรือพุดง่ายๆ ก็คือเคยชินกับการมีคนมารับซื้อถึงที่ ไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยุ่งยาก นี่คือข้อเสียของเจ้าของสินค้าที่มีวัตถุดิบอยู่ในมือ แต่ไม่สามารถสร้างมูลลค่าได้
Pain Point ในกระบวนการผลิต
ส่วนใหญ่มักจะทำเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SME รายย่อยทำให้บางครั้งนั้นเสียเปรียบบริษัทใหญ่ๆที่มีขุมกำลังการผลิตมากกว่า ส่งออกได้มากกว่า
Pain Point เกี่ยวกับการเงิน
ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจต่างๆนั้นมักจะจับจ่ายด้วยเงินสดเสมอ ดังนั้นจึงทำให้ขาดโอกาศอย่างมากในการซื้อขายในรูปแบบอื่นๆ เช่น การโอนเงินผ่าน google play ,CRYPTOCURRENCY, google play หรือแม้แต่บัตรเครดิต
Pain Point ทางด้านการบริการ
จุดบอดอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจ SME franchise นั้นมักจะไม่คำนึงถึงการบริการมากนัก ทั้งๆที่เป็นปัจจัยหลักในการทำการตลาด เพราะ ลค . จะซื้อก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคนๆนั้นด้วย
Pain Point เกี่ยวกับคู่แข่งธุรกิจ SME
ข้อเสียของการมีคู่แข่งน้อยคือถ้าหากเข้าไปในเวทีใหญ่ๆระดับโลก แล้วอาจจะปรับตัวไม่ได้เพราะคุ้นเคยกับการทำการตลาดแบบเดิมๆที่มีตนเองนั้นเป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว
pain point ร้านอาหาร
เป็นธุรกิจที่หนักที่สุดใน SME เลยก็ว่าได้เพราะต้องรับมือกับการถดถอยทางเศรษกิจและโควิด19 ในขณะนี้ทำให้บางธุรกิจล้มละลาย ปิดตัวกันเป็นแถว แต่ธุรกิจที่ยังคงยืนหยัดได้กลับเป็นธุรกิจที่มีหน้าร้านออนไลน์แทน
Pain Point ของผู้บริโภค
บางกลุ่มคือ ร้านอาหารตามสั่งมักจะเปิด-ปิดเป็นเวลา และพื้นที่ที่ไม่มีร้านอาหารตามสั่งก็จะไม่มีทางเลือกในการบริโภคมากนัก จึงต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปรับประทานแทน ทั้งที่ยังต้องการอาหารปรุงสดที่มีคุณค่าทางอาหารอยู่ Painpoint SME franchise ร้านกาแฟ บางร้านนั้นตกแต่งดีและสวยงามแต่ก็เป็นดาบสองคมที่ทำให้พนักงานทั่วไปมองว่าร้านนี้แพง แล้วหันไปทานกาแฟที่ถูกกว่า ถ้าแก้ตรงนี้ได้จะได้ฐานกลุ่มลูกค้าพนักงานประจำทั่วไปอีกเยอะมากมาย
Painpoint SME ของธนาคาร
หลักๆส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของบุคลากร และ การจัดการระบบการโอนเงิน เพราะทั้งสองอย่างนี้ถือได้ว่ามีความสำคัญและมีความยุ่งยากในการจัดการ ทางด้านมาร์เกตติ้ง งบประมาณการตลาด ที่มีน้อยเกินไปอาจทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Business Model

https://thewisdom.co/content/what-is-business-model-canvas/
ทางด้าน Business Model สตาร์ทอัพที่ไม่ไปถึงฟากฝันส่วนใหญ่มีการคิด Business Model ที่ผิด เป็นการคิดในรูปแบบเก่าที่ไม่มีความแปลกใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ไม่มีความต้องการในตลาด อาจจะให้เหตุผลได้ว่าสินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่ได้เป็นที่ต้องการของลูกค้า หรือยังไม่มีแผนการตลาดที่ดีพอ บุคลากรขาดความเข้าใจในเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง อาจเกิดจากการที่ศึกษาข้อมูลไม่เพียงพอจนมีการนำเทคโนโลยีที่ไม่มีความจำเป็นเข้ามาใช้ เป็นการใช้งบประมาณโดยสิ้นเปลือง
และนี่ก็เป็น 10 painpoint ที่ผู้ผลิตและคนทำเกษตรกรรมทั้งหลายที่ต้องเจอ และขาดคุณสมบัติเหล่านี้ไป ซึ่งเป็นสิ่งน่าเสียดายจริง ๆ ถ้าหากมีแผนในการช่วยเหลือที่ดีสำหรับธุรกิจ SME และ Startup อาจจะทำให้มีสินค้าที่ดีมีคุณภาพมากมายออกมาสู่ตลาดโลกได้มากกว่าเดิม