7  อุปสรรคที่มักพบในการขายสินค้าออนไลน์และต้องทำยังไงต่อดี ?

7  อุปสรรคที่มักพบในการขายสินค้าออนไลน์และต้องทำยังไงต่อดี ? 

ในการขายสินค้าออนไลน์ ผู้ขายมักพบปัญหาต่าง ๆ มากมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำยอดขาย หรืออุปสรรคของแบรนด์ในระยะยาวต่อไปได้ วันนี้ Kaidoo พามาทำความเข้าใจอุปสรรคต่าง ๆ และที่สำคัญคือเทคนิคการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้

 

  1. หน้าเว็บไม่มีการอัปเดตสินค้า หรือไม่มีเวลาอัปเดตสินค้า

ในการขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ย่อมต้องมีการอัปเดตแบบเรียลไทม์ เช่น หากคุณขายกระเป๋า ต้องมีการเช็คสต็อคในทุกแพลตฟอร์มที่ลูกค้าเข้ามาช้อปสินค้า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Line OA หรือแม้แต่เว็บไซต์ การจัดการทางแพลตฟอร์ม e-commerce อื่น ๆ อาจมีคนคอยจัดการให้ได้ แต่หน้าเว็บไซต์หากไม่มีการอัปเดต เมื่อลูกค้าคลิกสั่งซื้ออาจทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการซื้อและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อได้ 

เทคนิคการแก้ไข : เลือกใช้แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ที่มีการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น หากคุณเพิ่มจำนวนสต็อคสินค้าเรียบร้อย จำนวนก็จะลดลงตามยอดการสั่งซื้อ ลูกค้าจะทราบได้ทันทีหากสินค้าหมดคลัง

 

 

  1. โปรโมชั่นของคู่แข่งน่าสนใจกว่า

เป็นธรรมดาที่เราจะมีคู่แข่งที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันหรือทำธุรกิจบริการคล้าย ๆ กัน แต่คู่แข่งของเรามักจะมีโปรโมชั่นต่าง ๆ มาตัดหน้าเราทั้ง ลดราคา จับคู่ซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อของคู่แข่งเราได้อย่างไม่ลังเล 

เทคนิคการแก้ไข : อาจจะมีหลาย ๆ คนที่อดไม่ได้ที่จะปรับลดราคาลงตามคู่แข่งไปด้วย ทั้งที่ต้นทุนสินค้าของเราอาจมีมูลค่ามากกว่า แต่ที่จริงแล้วก่อนอื่นต้องสำรวจสินค้าหรือบริการของเราก่อน ให้รู้ว่าแบรนด์ของคุณมีจุดเด่นหรือสินค้ามีความแตกต่าง เป็นการสร้างจุดเด่นและความแตกต่าง  และนำมาเป็นจุดขายเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจว่า แบรนด์ไหนที่จะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด

 

 

  1. ขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์สถิติและเก็บ Insights

การทำธุรกิจแน่นอนว่าต้องมีจุดหมายและการวิเคราะห์ตลาดของธุรกิจหรือบริการและสามารถนำข้อมูลมาต่อยอดในการวางแผนได้ต่อไป แต่บางครั้งเรามักลืมที่จะเก็บข้อมูล และขาดเครื่องมือ ขาดความรู้ในด้านนี้

เทคนิคการแก้ไข : ลองมองหาเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาและช่วยคาดการณ์ (Forecast) ยอดขายเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ช่วยแสดงผลลัพธ์ Sales Pipeline Report จำนวนยอดขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเดือนนั้น ๆ เป็นต้น 

 

 

  1. ไม่เข้าใจลูกค้า เลือกใช้โฆษณาไม่ตรงกลุ่ม 

การทำโฆษณาออนไลน์ต้องควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์ มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่มักเลือกการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยโฆษณาอย่าง Facebook, Google Ads เพื่อช่วยให้เกิดการรับรู้และนำไปสู่การสั่งซื้อในที่สุด ซึ่งบางครั้งการทำโฆษณาไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ลูกค้าและไม่เข้าใจอย่างแท้จริง ทำให้เลือกใช้โฆษณาคนละประเภทหรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ใช่  

เทคนิคการแก้ไข : เลือกใช้โฆษณาให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการศึกษาพฤติกรรมลูกค้าและความเหมาะสมในแต่ละแพลตฟอร์ม หรือสามารถหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำปรึกษา และวางกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมตรงตามจุดประสงค์

 

 

  1. ตอบแชทไม่ทัน ลูกค้าไม่รอที่จะซื้อ

เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ คนพบเจอ คือลูกค้ามีการสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากจนหลังบ้านไม่สามารถจัดการหรือตอบคำถามได้ทันท่วงที ปัญหาที่ตามมาคือลูกค้าไม่รอและไปซื้อสินค้ากับคู่แข่งของเรา

เทคนิคการแก้ไข : หากธุรกิจของคุณมีการขายบนแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Facebook หรือ Line เราแนะนำให้ตั้ง Greeting Message หรือข้อความอัตโนมัติ (ข้อความต้อนรับ) ที่จะช่วยรับหน้ากับลูกค้าเบื้องต้น และแจ้งว่าทางร้านจะรีบตอบกลับให้ไวที่สุด สามารถแจ้งเรื่องที่ต้องการสอบถามได้เลย หรืออีกวิธีที่จะช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้นคือการทำ Saved Replies (ใน Facebook Messanger) คือการรวบรวม FAQ หรือคำถามยอดนิยมที่พบบ่อย เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้าสอบถามก็เลือกส่งคำตอบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มรูปภาพได้ในคำตอบด้วย

 

 

  1. ไม่มีข้อมูลลูกค้าเก่า จัดเก็บไม่เป็นระบบ

ข้อมูลลูกค้าหรือพฤติกรรมลูกค้าถือว่าสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่สามารถนำไปต่อยอดในการทำการตลาดได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Customer Loyalty ด้วยการทำแคมเปญหาลูกค้าคนพิเศษแบบส่วนตัว เช่น การส่ง SMS แจ้งโปรโมชั่นให้ลูกค้า การทำโฆษณาแบบ Personalization จากพฤติกรรมการซื้อ แต่ปัญหาคือระบบที่ใช้อยู่ไม่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าหรือคุณไม่ได้เก็บข้อมูลไว้เลย 

เทคนิคการแก้ไข : ควรสร้างข้อมูลลูกค้าเก็บไว้ เช่น การจัดทำ Order Management หรือสร้างไฟล์ข้อมูลลูกค้า จะช่วยบอกได้ว่าลูกค้าคนนี้กลับมาซื้อซ้ำบ่อยแค่ไหน หรือมีพฤติกรรมการซื้อแบบใด อีกวิธีที่ง่ายขึ้นคือเลือกใช้เครื่องมือสำเร็จรูปที่เก็บข้อมูลและช่วยประหยัดเวลา สามารถจัดการข้อมูลลูกค้าแบบไม่ต้องสร้างไฟล์ Excel ให้ยุ่งยาก เป็นต้น

 

  1. ปัญหาการคืนสินค้าและคืนเงิน

เป็นอีกปัญหาหนึ่งของคนขายของออนไลน์ เมื่อสินค้าที่ส่งไปหาลูกค้าถูกส่งกลับมา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องของสินค้าเสียหาย จัดส่งสินค้าผิดและเหตุผลอื่นๆ ย่อมทำให้ผู้ขายของออนไลน์สูญเสียทั้งชื่อเสียงและค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง และยิ่งแย่เข้าไปอีก หากผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าจัดสั่งและคืนสินค้าทั้งหมด

เทคนิคการแก้ไข : แน่นอนว่านโยบายการคืนสินค้าเป็นหนึ่งในการสร้างความพึงพอใจในการบริการให้ลูกค้า และเป็นความผิดพลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นในฐานะผู้ขายสินค้าออนไลน์จำเป็นต้องสร้างนโยบายการคืนสินค้าที่แข็งแกร่ง เข้าใจง่าย และรวบรัดทั้งหมดด้วย

เทคนิคการแก้ไขปัญหาที่พบจากการขายของออนไลน์ทั้งหมดเหล่านี้ ทาง Kaidoo หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า ออนไลน์ ให้นำไปพิจารณาและหาทางออก ปรับแผนกลยุทธ์กันใหม่เพื่อให้ธุรกิจของคุณพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ในโลกของการออนไลน์

.

.

 ข้อมูลจาก : 

https://fti.or.th/

https://blog.readyplanet.com/

https://www.officemate.co.th/

 

Main Menu