
วิธีจัดการกับลูกหนี้การค้า ซัพพลายเออร์ เมื่อธุรกิจเกิดวิกฤต
ในช่วงที่ธุรกิจเกิดวิกฤตขึ้นมา นอกจากเงินกู้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ หรือแหล่งเงินทุนแล้ว ยังมีอีก 2 บุคคลสำคัญทางธุรกิจที่สามารถเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน และช่วยพยุงกิจการของเราให้รอดพ้นจากวิกฤตไปได้หากว่าเรามีการบริหารจัดการได้ดี บุคคลที่ว่าก็คือ “ลูกหนี้การค้า” และ “ซัพพลายเออร์”
ลูกหนี้การค้า
- มีการทบทวนเงื่อนไขเทอมการชำระเงิน พร้อมจัดเรียงลำดับลูกหนี้แต่ละราย ใครที่มีหนี้มากที่สุด ใครมีหนี้น้อยรองลงมา และใครมีหนี้ที่น้อยที่สุด
- เร่งเพิ่มข้อเสนอ เพิ่มแรงจูงใจให้จ่ายเร็วขึ้น ให้สิทธิพิเศษสำหรับลูกหนี้การค้าที่ตรงเวลา
- ติดตามดูสถานะทางการเงินของลูกหนี้การค้าตลอด ควรติดตามข่าวสารข้อมูลการเงินและสภาพคล่องในธุรกิจของลูกหนี้การค้าแต่ละรายด้วย เพื่อดูแนวโน้มดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงการกระจุกตัวกับลูกค้าเพียงกลุ่มเดียว ต้องสร้างแหล่งรายได้ให้กับธุรกิจมากกว่า 1 แหล่ง อย่ายึดติดกับลูกค้าแค่เพียงกลุ่มธุรกิจเดียว เพราะหากกลุ่มนี้ล้มขึ้นมา ธุรกิจของเราก็ยังมีกลุ่มอื่นไว้รองรับได้
- เรียกขอหลักประกันในการชำระหนี้ ควรทำหนังสือค้ำประกัน และวงเงินประกันหากไม่สามารถจ่ายชำระได้ไว้ตั้งแต่ต้น
- สร้างมาตรการเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระ โดยวางไว้เป็นขั้นตอน เช่น ผิดชำระครั้งแรกต้องทำอย่างไร ครั้งสอง และครั้งต่อไป มีการเจรจาไกล่เกลี่ยดูก่อน หากยังไม่สามารถจัดการได้ อาจต้องฟ้องร้อง
ซัพพลายเออร์
- ใช้การเจรจาต่อรองเพื่อบริหารสภาพคล่อง เช่น สั่งซื้อในราคาพิเศษ หรือขอยืดเวลาการชำระให้นานขึ้น เพื่อพยุงกิจการให้ได้
- มีการตรวจสอบซัพพลายเชน รักษาปริมาณสินค้าในสต็อกขั้นต่ำ โดยพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายกับปริมาณการผลิต
- หาแหล่งซัพพลายเออร์ให้มากกว่า 1 แห่ง เพราะในยามวิกฤตสินค้าอาจเกิดการขาดแคลนได้
- จับมือร่วมกัน เช่น ร่วมกับซัพพลายเออร์ขายวัตถุดิบให้ลูกค้าไปทำเอง โดยใช้ช่องทางจัดจำหน่ายของแบรนด์
- มีการสร้างข้อพิจารณาอื่นๆ ทั้งการคิดค่าปรับหากขนส่งของล่าช้า, ทบทวนเวลาประกัน, ซัพพลายเออร์มีอะไรบ้าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้
การวางแผนการจัดการ และปรับกลยุทธ์ข้อตกลงต่าง ๆ กับลูกหนี้การค้า และซัพพลายเออร์ ตลอดจนคอยติดตามสถานการณ์อยู่เสมอ จะทำให้ทุกคนสามารถผ่านช่วงวิกฤตของธุรกิจได้อย่างแน่นอน
.
.
ข้อมูลจาก : SME Thailand Online