พามารู้จักนโยบายของ DIPROM CARE ช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจให้เติบโต

พามารู้จัก 4 นโยบายของ DIPROM CARE ช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจให้เติบโต

อีกหนึ่งข่าวดีของผู้ประกอบการ เมื่อภาครัฐ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม เปิดแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ และภาคธุรกิจอุตสาหกรรมผ่านนโยบาย “ดีพร้อมแคร์ : DIPROM CARE” สนับสนุนภาคธุรกิจให้เติบโต ผ่านหลากฟังก์ชัน “ตลาดเทคโนโลยีขั้นสูง การสร้างเครือข่ายนานาชาติ” ตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 16,000 ราย และสร้างมูลค่าไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท

     ด้วยสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปในช่วง 2 ปีมานี้ทำให้ดีพร้อม เห็นโอกาสในการเร่งฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประกอบการหลังจากได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมาให้ตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติผ่านแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ภายใต้ นโยบาย “DIProm CARE: ดีพร้อม แคร์” 

DIPROM CARE คืออะไร?

Customization – แคร์ ตรงประเด็น

     การวิเคราะห์ผลกระทบ ความเสี่ยง หรือปัจจัยโดยรวมที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง โดยจะนำศาสตร์ Shindan  ซึ่งเป็นศาสตร์การวินิจฉัยจากญี่ปุ่นมาช่วยในการเจาะลึกต้นตอของปัญหาธุรกิจ พร้อมทั้งช่วยออกแบบหรือสรรหาเครื่องมือเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับระดับของสถานประกอบการตลอดจนวิเคราะห์ และช่วยทำแผนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเชิงพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามบริบทที่แท้จริง

 

Accessibility – แคร์ ทุกการเข้าถึง

ดีพร้อมได้ขยายช่องทางการเข้าถึงทั้งที่เป็นเครื่องมือ บุคลากรในการให้คำปรึกษา รวมถึงโครงการและศูนย์การส่งเสริมไปสู่ระดับภูมิภาคเพื่อให้ทุกกลุ่มธุรกิจสามารถเข้าถึงหน่วยงานการช่วยเหลือได้สะดวกรวดเร็ว

 

Reformation – แคร์ ทุกการเปลี่ยนแปลง

    ดีพร้อมได้ปฏิรูปกลไกการดำเนินงานในภาพรวมของทุกโครงการ และการดำเดินงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคให้มีรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับยุค New Normal 

 

Engagement – แคร์ เครือข่ายและพันธมิตร

     เป็นการอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความโดดเด่นในแต่ละด้านทั้งภาครัฐและเอกชน มาช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการใหม่ให้มีการเติบโตที่ดียิ่งขึ้นในรูปแบบแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย ตลอดจนการเชื่อมโยงพันธมิตรเพื่อจัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านรูปแบบการจับคู่ธุรกิจ 

โดยมีโปรแกรมสนับสนุนภาคธุรกิจ 4 ด้านประกอบด้วย

 

  1. ด้านการสนับสนุนปัจจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย 
  • โครงการ CIV+ การยกระดับสินค้าและบริการในชุมชนท่องเที่ยวให้มีมูลค่าและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศรวมถึงสามารถดึงดูดการจ้างงานได้ 
  • โครงการถุงดีพร้อมช่วยธุรกิจชุบชีวิตชุมชน ซึ่งเป็นการทดสอบตลาดผ่านถุงดีพร้อมและช่วยผู้ได้รับผลกระทบในวิกฤต 
  • การส่งเสริม E-Commerce 3.0 ในการยกระดับการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์พัฒนาผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
  • Logistics-for-เกษตรอุตสาหกรรม เป็นการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทาง 
  • Digital SI-for-SME การเชื่อมโยงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพด้านออโตเมชันมาสนับสนุนการประกอบการของเอสเอ็มอีเพื่อเป็นการสร้างธุรกิจชที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมแห่งอนาคตภายใต้ S curve-for-SME  

 

  1. ด้านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน 
  • ยกระดับ  ITC-2-OEM ศูนย์ปฏิรูปเกษตรอุตสาหกรรมสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ OEM โดยจะเชื่อมโยงผู้รับจ้างผลิตเพื่อให้ผู้ประกอบการที่พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ่านศูนย์ ITC สามารถนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้จริง 
  • ขยายเครือข่าย IDC-2-Thai เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ทั่วประเทศ ตลอดจนศูนย์ทดสอบคุณภาพมาตรฐานและรับรองแหล่งกำเนิดในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหาร สินค้าฮาลาล กาแฟ ผลิตภัณฑ์พืชเศรษฐกิจใหม่ 3ก (กัญชง กัญชา กระท่อม) เครื่องเรือน และเซรามิก

 

  1. การสนับสนุนมาตรฐานและสินเชื่อ 
  • มาตรการส่งเสริมธุรกิจในไทย ในโครงการ MIT และ SME-GP เพื่อทำให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมมีโอกาสเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 
  • โครงการ Thailand Textile Tag ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าที่ผลิตในประเทศไทย
  • สินเชื่อดีพร้อมเปย์เพื่อให้ธุรกิจ SME มีเงินทุนหมุนเวียน และปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ 

 

  1. การสนับสนุนศักยภาพบุคลากร 
  • การปั้นนักธุรกิจวิถีใหม่ในโครงการ NEC วิถีใหม่ โครงการ “ปลูกปั้น” คอร์สอบรมคนดีพร้อม 
  • โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม หรือ คพอ+ : Diprom mini MBA

 

 

ข้อมูลจาก : www.smethailandclub.com

 

 

Main Menu