
ทางรอดของ Ecommerce ใน 2022 ต้องเข้าใจ Shopper Journey
ธุรกิจ Ecommerce เติบโตเพิ่มขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นธุรกิจหลักที่เข้ามามีส่วนนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจขาลงเพราะต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาด ทั้งนี้ MediaDonuts Thailand หนึ่งในกลุ่มบริษัท เอ็นทราวิชั่น ได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจ Ecommerce ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้นักการตลาดได้บทเรียนสำคัญที่จะนำไปปรับปรุงใช้ต่อไปในปี 2022 นี้ โดยเฉพาะเทคนิคการเข้าถึง Shopper Journey ยุคใหม่ในยุค Post Covid-19
จากข้อมูลของ ETDA (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) พบว่า
- มูลค่าการซื้อขายของสนาม E-Commerce ในไทย มีแนวโน้มจะแตะที่ 4 ล้านล้านบาทภายในปี 2021 (ETDA, 2021)
- มีมูลค่าการซื้อขายของกลุ่มผู้ขายที่เป็น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ถูกคาดการณ์ว่า จะมีขนาดตลาดที่ใกล้แตะ 2 ล้านล้านบาท
- เติบโตมากกว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าการซื้อขายจะเติบโตเกือบ 20% เมื่อเทียบกับปี 2020 (ETDA, 2021)
- จำนวนของ sellers ของ ร้านค้า ออนไลน์ในไทยนั้น เพิ่มขึ้นกว่า 50%
- เพิ่มขึ้นของจำนวน สินค้าในแพลตฟอร์ม E-Commerce หลักในไทยที่เพิ่มสูงขึ้น 32%
- มีการเกิดขึ้นของ E-Commerce moment ที่กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยเพิ่ม ขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต
สิ่งที่ Ecommerce ทำ
-
ดึงคนเข้าแพลตฟอร์ม
การเพิ่มขึ้นของผู้ขาย จำนวนสินค้าที่เสนอขาย และโอกาสในการขาย เช่น Ecommerce moment ส่งผลให้ทุกคนในสนาม Ecommerce หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับการแข่งขัน เพื่อแย่งความสนใจจากผู้ซื้อในโลกออนไลน์ มีการดึงคนเข้าแพลตฟอร์มตัวเองให้เยอะมากที่สุด เพื่อให้หากลุ่มผู้ใช้งานที่มีแนวโน้มจะเป็นผู้ซื้อในอนาคตต่อไป
2. ตามเก็บคนที่เข้ามาในแพลตฟอร์ม
นอกจากการพยายามดึงคนเข้าแพลตฟอร์ม หรือทำโฆษณาเพื่อดึงดูดคนเข้าแพลตฟอร์ม แต่สิ่งที่ยังท้าทายนักการตลาดอยู่ คือ การเก็บข้อมูล การทำ Remarketing และที่สำคัญคือการเล่นกับ Shopper Journey แบบเหนือชั้น และใช้ประโยชน์จากความเข้าใจ การศึกษา Shopper Journey อย่างถ่องแท้
ชาเลนจ์ของนักการตลาด เมื่อ Consumer/Shopper Journey กระจัดกระจาย
สินค้าที่ได้รับการรายงานว่ามีอัตราการเติบโตในเชิงยอดขายมาแรงในปีที่ผ่านมา อย่างกลุ่มสินค้าแก็ดเจทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่โตกว่า 113% จากการรายงานของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ GlobalWebIndex ได้มีการศึกษาผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีการซื้อกลุ่มสินค้าแก็ดเจ็ทอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่องทางออนไลน์ในช่วงไตรมาสที่สองที่ผ่านมา โดยดูว่า
ช่องทางใดบ้างที่มีความเป็นไปได้ที่พวกเขาใช้ในการ “ไปต่อ” เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่สนใจ โดยพบว่าพวกเขาอาจจะ..
- 53% ค้นหาผ่านการเสิร์ช
- 46% ค้นหาในโซเชียลมีเดีย
- 44% ค้นหาต่อในแอปที่กำลังเปิดดูสินค้าอยู่
- 38% ดูต่อที่เว็บเทียบราคา
- 38% ไปดูต่อที่เว็บไซต์ของแบรนด์โดยตรง
- 37% ไปอ่านเว็บที่รวบรวม review ของคนอื่นๆ
- 34% ดูวิดิโอรีวิว
- 31% ค้นหาต่อในเว็บรวมส่วนลด
- 26% ไปเว็บเฉพาะทางของสินค้านั้นๆเพื่อดูวิเคราะห์แบบเจาะลึก
และถึงแม้จะมีการเสิร์ชเพื่อค้นหาข้อมูลไปแล้ว พวกเขาก็อาจจะค้นกลับไปกลับมาระหว่างหนึ่งในทางเลือกนี้ได้อีก โดยพบว่า เหล่านักช้อปออนไลน์ที่ซื้อแก็ดเจทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่เพิ่งผ่านไปนั้น
คนที่ค้นหาข้อมูลผ่านการเสิร์ช อาจจะมีการค้นหาจากช่องทางอื่นๆ กลับไปกลับมาได้อีกจากช่องทางต่อไปนี้
- 54% ค้นหาในโซเชียลมีเดีย
- 49% ค้นหาต่อในแอพ
- 47% ไปดูต่อที่เว็บไซต์ของแบรนด์โดยตรง
- 45% ดูต่อที่เว็บเทียบราคา
- 44% ไปอ่านเว็บที่รวบรวม review ของคนอื่นๆ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า Shopper Journey นั้นมีความเป็นได้หลากหลายมาก ผู้ซื้อของเราจะอยู่แต่ในโซเชียลมีเดียหรือเสิร์ชเท่านั้น
บทสรุปแนวโน้มการปรับตัวของ Ecommerce ใน 2022 นี้
- นักการตลาดอาจต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจและพยายามศึกษา Shopper Journey อย่างจริงจัง นอกจากการมุ่งไปที่พยายามดึงคนเข้าแพลตฟอร์มอย่างเดียว
- ความวุ่นวายในการเสนอขายผนวกกับความวุ่นวายของเส้นทางการตัดสินใจซื้อ และไม่ใช้ทุกเส้นทางการตัดสินใจซื้อที่คุ้มค่าต่อแบรนด์
- การวางแผนการใช้มีเดียหรือทำแคมเปญจึงควรคิดให้ครอบคลุมทั้งการดึงคนเข้ามา และตามเก็บ ข้อมูล เส้นทางการซื้อของลูกค้า
- สิ่งที่สำคัญของธุรกิจ E-Commerce ตอนนี้ อยู่ที่ความสามารถในการวางแผนที่เข้าใจลักษณะเส้นทางและพื้นที่การตัดสินใจซื้อของผู้ซื้อ
.
.
ข้อมูลจาก : https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/ecommerce-2022/