เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละ Generation แบรนด์ต้องทำอย่างไร

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละ Gen ต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นแบรนด์ที่ตอบโจทย์

ในประชากรไทยกว่า 70 ล้านคน ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายวัย ต่างเพศ ต่าง Genaration การทำการตลาดให้โดนใจตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ย่อมเป็นหนทางสู่ความสำเร็จของแบรนด์ เนื่องมาจากว่าปัจจุบันนี้กว่า 80 % ของผู้บริโภคมีความคาดหวังให้แบรนด์ตอบโจทย์ความต้องการ ในการนำเสนอประสบการณ์ และ สินค้าบริการแบบเฉพาะรายบุคคล หรือที่เราเรียกว่า Personalized Brand Experience (ข้อมูลจาก wigzo.com)

ดังนั้นสิ่งที่แบรนด์ต่าง ๆ ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจก่อนลำดับแรกเลยคือ พฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละ Genaration เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำการตลาดให้โดนใจผู้บริโภคและเหมาะสมกับแบรนด์ของตนเอง

 

Baby Boomer (1946-1964)

หรือกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเกษียณอายุ หรือกำลังใกล้เกษียณอายุ ซึ่งถือว่ามีประชากรคิดเป็นเกือบ 20% ในประเทศไทย

พฤติกรรมผู้บริโภค ของ Baby Boomer

  • 75% ยังสนใจและให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดีและความแข็งแรงของร่างกาย
  • 95% ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตอยู่บ้านและใช้เวลากับครอบครัว
  • มีพฤติกรรมการไปท่องเที่ยว ใช้เวลานอกบ้านและทานอาหารนอกบ้านน้อย
  • มีการหันมาลงทุนกับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านมากขึ้น รวมถึงอุปกรณ์ Home Office ต่าง ๆ
  • มีความรู้สึกบรรลุผลของงาน เป้าหมายในการ WFH ได้ดี ไม่ค่อยพบปัญหาเหมือนในช่วงวัยอื่น
  • เศรษฐกิจที่แย่ลงและมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้มีการเลื่อนการเกษียณอายุออกไป
  • มีการเล่นโซเชียลมีเดียสูงขึ้น เพื่อคลายความเหงา ชอบการแชร์ข้อมูลให้ผู้อื่น พฤติกรรมตรงนี้เป็นโอกาสของแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สุขภาวะ และแฟชั่น
  • หันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เพราะว่าการซื้อของออนไลน์ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย

 

การปรับใช้พฤติกรรมของ Baby Boomer สำหรับแบรนด์

  • เป็นโอกาสทองของร้านค้าและธุรกิจออนไลน์ ในการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้สูงวัยมากขึ้น 
  • โดยเน้นเฉพาะแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และแฟชั่นสำคัญมากที่สุด

 

Gen X (1965-1980)

กลุ่มที่มีอายุระหว่าง 42-57 ปี รุ่นที่ถือว่ามีความมั่งคั่งและมั่งคง มีกำลังจับจ่ายใช้สอยสูง

พฤติกรรมผู้บริโภค ของ Gen X

  • เป็นเหมือนเสาหลักของครอบครัว ที่เป็น Generation ตรงกลางระหว่าง Y กับ Baby Boomer ดูแลคนในครอบครัวทั้งหมด จึงมีความกังวลสูง
  • Social Media ที่ชอบเล่นคือ Facebook และ Youtube
  • ชอบพึ่งพาตนเอง ดูแลบริหารจัดการชีวิต
  • รักในของสมนาคุณหรือการ์ดสะสมคะแนน
  • ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความจงรักภักดีกับแบรนด์ที่ใช้ (Brand Loyalty)
  • เป็นเป้าหมายหลักสำหรับแบรนด์สกินแคร์ และเครื่องสำอางในการใช้การรีวิวบนสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ
  • มีความชอบในเรื่องของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สนใจในเรื่องการเสริมภูมิต้านทาน รักษาร่างกายและรูปร่าง

 

การปรับใช้พฤติกรรมของ Gen X สำหรับแบรนด์

  • เป็นโอกาสของแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อาหารเสริม วิตามิน 
  • กลยุทธ์ใช้การสะสมแต้มแลกของ มีระบบ Membership 
  • ดีต่อแบรนด์เครื่องสำอาง ครีมบำรุง สกินแคร์ต่าง ๆ เนื่องจากมีความ Brand Royalty สูง ชอบทำการรีวิวบอกต่อ

 

Gen Y (1981-1996)

กลุ่มที่มีอายุระหว่าง 25-40 ปี เรียกได้อีกชื่อว่า Millennials กลุ่มที่ชื่นชอบในโลกออนไลน์ ตามทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ

พฤติกรรมผู้บริโภค ของ Gen Y 

  • โดดเด่นในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และสถานการณ์ ชอบในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
  • มีความเชื่อในการสร้างความเปลี่ยนแปลง และการขับเคลื่อนทางสังคม
  • เป็นเจนที่คลั่งไคล้และรักในการเล่น Social Media
  • มีความรู้สึกโดดเดี่ยวในจิตใจ ชอบอัพเดตไลฟ์สไตล์ของตัวเองลงในโซเชี่ยล
  • ชอบออกไปท่องเที่ยว นั่งคาเฟ่ หาสถานที่ Hang Out 
  • มีความสนใจในการลงทุนธุรกิจบ้านและที่อยู่อาศัย สนใจในสินค้าตกแต่งและเครื่องใช้ภายในบ้าน ชอบตกแต่งห้องด้วยโทนสีที่สะท้อนตัวตน เลือกเฟอร์นิเจอร์สไตล์ที่ตัวเองชื่นชอบ
  • ให้ความสำคัญในเรื่องของสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดี 
  • แบรนด์ที่มีจุดยืน มีความจริงใจ และความซื่อสัตย์ต่อกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจนเป็นแบรนด์ที่ชาวเจนวายรัก

 

การปรับใช้พฤติกรรมของ Gen Y สำหรับแบรนด์

  • นับเป็นโอกาสของร้านกาแฟ คาเฟ่ เครื่องดื่มต่าง ๆ เนื่องจากความชื่นชอบของ Gen Y
  • เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ของแต่งบ้านต่าง ๆ มีเจนวายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด
  • ทุกแบรนด์ควรมีจุดยืน ความชัดเจน จริงใจ 

 

Gen Z (1997-2012)

เกิดมาในยุคที่เทคโนโลยีมีความรุ่งเรืองอย่างมาก ทำให้คนเจนนี้ถนัดในเรื่องของการใช้ดิจิทัลในชีวิตประจำวัน

พฤติกรรมผู้บริโภค ของ Gen Z

  • ชอบหาข้อเท็จจริงผ่านทางโซเชี่ยลมีเดีย
  • มีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น หรือกล้าที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม ไม่เป็นเพียงนักเลงคีย์บอร์ดอย่างเดียว แต่พร้อมจะลงมือทำอะไรจริงจัง ยกให้เป็น “เจนแห่งความหวัง”
  • เป็นต้นตอของคอนเทนต์ไวรัลหรือคอนเทนต์ที่เป็นกระแส มักกระจายข้อมูลได้ไวรวดเร็ว
  • นิยมทำช่อง YouTube ในการหารายได้เพื่อทำตามความฝันของตัวเอง
  • มีความช่ืนชอบในการดู Game Streaming 
  • จุดกำเนิด “Financial Influencer” การมีความโดดเด่น มีตัวตนในโลกของโซเชี่ยล สามารถทำเงินได้จากสปอนเซอร์หรือแฟนคลับ
  • ชอบศึกษาด้วยตนเองผ่านคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ
  • ตัดสินใจซื้อของจากภาพลักษณ์ของแบรนด์
  • มีการเปิดใจรับสินค้าใหม่ ๆ 

 

การปรับใช้พฤติกรรมของ Gen Z สำหรับแบรนด์

  • สร้าง Brand Awareness ได้จากคนเจนซี เพราะเป็นเจนที่เป็น Influencer มากที่สุด และยังชื่นชอบในการแชร์เรื่องราวต่าง ๆ
  • สามารถทำให้สินค้าใหม่ ๆ เป็นกระแสได้ เนื่องจากชอบเปิดใจการทำอะไรใหม่ ๆ เช่น Cafe At Home
  • เป็นอีกหนึ่งเจนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ ของแต่งห้อง

 

Gen Alpha  (2010-2024)

ถือว่าเป็นกลุ่มเด็กรุ่นใหม่อย่างแท้จริง คาดการณ์ว่าจะเป็นวัยที่มีความฉลาดมากที่สุด เนื่องมาจากความถนัดในการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลสูง

พฤติกรรมผู้บริโภค ของ Gen Alpha

  • ชื่นชอบและโตมากับ Youtube, Netflix, Disney+ และ Streaming อื่น ๆ 
  • ได้รับผลกระทบจากโควิด19 อย่างเต็มตัว ทำให้เลือกใช้เทคโนโลยี แอปในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
  • บริการ Food Delivery กลายเป็นเรื่องปกติประจำวัน
  • ต้นกำเนิดของ “Alphluence” เป็นการรวมคำระหว่าง Alpha และ Influence อินฟลูเอนเซอร์ที่มีความสามารถครองพื้นที่โซเชียลมีเดียได้นานกว่าวัยอื่น ๆ และมีความเป็นครีเอเตอร์สูง

การปรับใช้พฤติกรรมของ Gen Alpha สำหรับแบรนด์

  • เป็นโอกาสทองของครีเอเตอร์ที่ทำช่อง YouTube มีเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
  • โอกาสของร้านอาหารที่สั่งแบบเดลิเวอรี่ได้ 
  • โอกาสการเพิ่มของร้านอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กโดยตรง

 

ทั้งหมดนี้คือพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละเจนที่มีความแตกต่างกันไป แบรนด์สามารถสร้างกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อพัฒนาต่อยอดแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จต่อไปได้

.

.

ที่มา : Content shifu 
Kbank

Spring News

Main Menu