ทำความรู้จัก Stagflation หรือ “นรกทางเศรษฐกิจ” ทั้งเงินเฟ้อ+เศรษฐกิจหยุดนิ่ง+คนตกงานเยอะ

ทำความรู้จัก Stagflation หรือ “นรกทางเศรษฐกิจ” ทั้งเงินเฟ้อ+เศรษฐกิจหยุดนิ่ง+คนตกงานเยอะ

        ณ กลางเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา  เราคงสามารถสังเกตเห็นกันได้ว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ จากราคาข้าวของที่สูงขึ้นมาก ตั้งแต่วัตถุดิบ หมู ไก่ ไข่ ผักชนิดต่าง ๆ จนร้านค้า ร้านอาหารตามสั่งแถวบ้าน ร้านบุฟเฟต์ก็ขึ้นราคากันหมด แต่จริง ๆ ที่เราเจอตอนนี้ไม่ใช่แค่เงินเฟ้อ เพราะก่อนเงินจะเฟ้อ เราเจอภาวะเศรษฐกิจหยุดนิ่ง เจอภาวะคนตกงาน คนว่างงานกันล้นตลาด สิ่งที่เราเห็นก็คือตั้งแต่ 2021 มาไม่มีอะไรดีขึ้น เศรษฐกิจไม่ขยับตัวขึ้น คนยังตกงาน ทุกอย่างเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเงินเฟ้อเห็นชัดขึ้นในต้นปีนี้

 

       ในภาวะแบบนี้มันมีศัพท์เทคนิคที่เรียกกันว่า ‘Stagflation’ ซึ่งไม่มีคำแปลไทย เพราะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย คำ ๆ นี้เกิดจากนักการเมืองในอังกฤษที่บรรยายภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษตอนกลางทศวรรษ 1970 เอาไว้ว่า มันมีทั้งภาวะหยุดนิ่ง (stagnation) และภาวะเงินเฟ้อ (inflation) ไปพร้อมกัน เขาจึงสร้างคำใหม่ว่า Stagflation

 

 

 

ตามรอยประวัติศาสตร์ Stagflation เหตุผลเกิดจากอะไร

  • เศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เริ่มมีวิธีคิดว่าเราจะสามารถหลุดจาก ‘วิกฤติเศรษฐกิจ’ ได้โดยการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบ ก็คือเศรษฐกิจชะงัก รัฐก็ต้องหล่อลื่น ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดก็คือ เงินจะเฟ้อเล็กน้อย แต่อัตราว่างงานจะลดลงเรื่อย ๆ  และอัตราเศรษฐกิจมันจะพุ่ง
  • แต่ยังคงเกิดภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงักอีก ภาวะที่ว่านี้สร้าง ‘วีรบุรุษ’ ขึ้นคนหนึ่งนั่นคือนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันชื่อว่า มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman) ซึ่งเป็นคนแรกๆ ที่ออกมาเถียงในทางทฤษฎีว่า ภาวะ Stagflation นั้นเป็นไปได้ 
  • พอภาวะนี้เกิดจริง ๆ จากที่ผู้คนมากมายไม่เชื่อฟรีดแมน คนก็แห่ไปถามเขาว่า แล้วเราจะทำยังไงดี?
  • ด้วยสำนักทางเศรษฐกิจของฟรีดแมนที่เขาเชื่อใน ‘ตลาดเสรีแบบสุดขั้ว’ คำแนะนำของเขาก็คือ “ก็ไม่ต้องไปทำอะไร สุดท้ายตลาดมันจะปรับตัวของมันเอง”
  • ไม่ว่าสิ่งที่ฟรีดแมนพูดจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือไม่ แต่รัฐที่ ‘ทำอะไรไม่ถูก’ สุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไร แต่เศรษฐกิจก็กลับสู่ภาวะปกติ ทำให้คำแนะนำว่า ‘รัฐไม่ต้องไปทำอะไร’ ของฟรีดแมนดันถูก เลยทำให้เขากลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญแห่งทศวรรษ 1980 
  • มาพร้อมกับข้อเสนอทางเศรษฐกิจที่ว่า รัฐควรจะแทรกแซงเศรษฐกิจน้อยที่สุด กิจการของรัฐก็ควรจะแปรรูปเป็นเอกชนให้มากที่สุด 
  • สุดท้าย ‘ตลาด’ จะจัดการทุกอย่างเอง 
  • แนวทางเศรษฐกิจนี้เป็นที่รู้จักภายหลังว่า ‘เสรีนิยมใหม่’ และเป็นแนวทางเศรษฐกิจหลักของโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้ 

 

และในปัจจุบันนี้คำ ๆ นี้ก็กลับมาอีกครั้งเกือบ 50 ปีให้หลัง คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีกับเศรษฐกิจแน่ ๆ เพราะพื้นฐานแล้ว นี่คือภาวะที่จนถึงทุกวันนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังไม่รู้เลยว่าจะจัดการกับมันยังไง หรือพูดให้ตรงคือยังไม่มีแนวทางพื้นฐานที่ตรงกันในการจัดการ

.

.

ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/brandthink.me/posts/3247486538910209

Main Menu